9 เคล็ดลับการดับไฟรถ

Last updated: 11 ก.ย. 2567  |  4578 จำนวนผู้เข้าชม  | 

9 เคล็ดลับการดับไฟรถ

9 เคล็ดลับการดับไฟรถ

เคล็ดลับที่ 1
โดยปกติแล้วเพลิงไหม้จะเริ่มต้นจาก 3 จุดของตัวรถคือ
1. ห้องเครื่อง สาเหตุเนื่องจากการรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อลื่น
2. ใต้แผงหน้าปัด สาเหตุเนื่องจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้า
3. ที่เบาะหลัง สาเหตุเนื่องจากการทิ้งก้นบุหรี่ออกไปนอกรถแต่กลับปลิวไปตกที่บริเวณเบาะหลังโดยไม่รู้ตัว

เคล็ดลับที่ 2
โดยทั่วไปจะมีถังดับเพลิงอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่ท่านควรจะมีติดรถไว้ก็คือ
ถังดับเพลิงชนิด ABC ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายอเนกประสงค์กล่าวคือ
ชนิด A มีคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไปเช่น ไม้ กระดาษ
หรือเครื่องเบาะของรถ
ชนิด B มีคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากของเหลวไวไฟเช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง
ชนิด C มคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
         ข้อเสียของถังดับเพลิงชนิด ABC ก็คือผงแป้งละเอียดที่ตกค้างหลังจากการใช้งาน
จะกัดกร่อนจุดเชื่อมต่อต่างๆของระบบไฟฟ้าและทำความเสียหายกับสมองกลหรือ
ระบบเกียร์อิเลคทรอนิค ดังนั้นท่านต้องทำความสะอาดอย่างทั่วถึงหลังการใช้งาน
         ในการดับไฟนั้น ให้ท่านฉีดผงเคมีไปยังฐาน(ต้นกำเนิด)ของเพลิงที่กำลังลุกไหม้อยู่นั้น
และกวาดหัวฉีดกลับไปมาอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งไฟดับลง
อย่าพ่นสารเคมีไปยังเปลวไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่ในอากาศ เพราะนั่นนอกจากจะดับไฟไม่ได้แล้ว
ก็ยังทำให้สิ้นเปลืองส่วนประกอบอันมีค่าของเครื่องคับเพลิงไปโดยเปล่าประโยชน์
        ถ้าหากเกิดไฟไหม้ขึ้นกับเครื่องเบาะรถท่าน ให้ดับไฟที่เบาะด้วยเครื่องดับเพลิงก่อน
แล้วจึงรีบดึงเบาะดังกล่าวออกมาจากรถของท่านเพราะบางทีไฟอาจยังคงคุกรุ่นอยู่ในส่วนที่ลึกของเบาะ
จากนั้นจึงเปิดเบาะออกแล้วฉีดสารเคมีดับเพลิงให้ทั่วถึงต่อไป

เคล็ดลับที่ 3
หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดับเพลิงชนิด ABC เพื่อดับไฟในบริเวณที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ถ้าหากทำได้ในกรณีนี้อุปกรณ์ดับเพลิงชนิดที่เป็น ฮาลอน(Halon)
จะเหมาะสมที่สุดเนื่องจากหลักการทำงานของอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดนี้ คือการเข้าไปไล่ออกซิเจน
ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ติดไฟออกไปจนสามารถดับไฟได้ อุปกรณ์ดับเพลิงฮาลอนจะใช้งานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพในบริเวณที่มีพื้นที่แคบและไม่มีการถ่ายเทอากาศ หากมีการถ่ายเทอากาศฮาลอน
ก็จะถูกลมพัดกระจายไปจนหมดและทำให้เปลวไฟลุกขึ้นมาได้อีก บริเวณใต้แผงหน้าปัดของรถ
จะใช้อุปกรณืดับชนิดนี้ได้ดี แต่ท่านต้องรีบถอดขั้วแบตเตอรี่ออกหลังจากไฟดับแล้วเพื่อป้องกัน
การเกิดลุกไหม้ขึ้นอีก แต่จากกรณีศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คณะกรรมการฯได้สั่ง
ห้ามการผลิตอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดนี้ แต่ก็ยังคงสามารถหาซื้ออุปกรณ์ส่วนที่เหลือได้จาก
General Fire Extinguisher Company of Northbrook, Illinois
ท่านสามารถโทรสอบถามตัวแทนอื่นๆได้ที่ 1-800-323-6452
แต่ยังทางเลือกอีกอย่างในการใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิงทดแทนฮาลอนนั่นก็คือ
เครื่องดับเพลิงแบบเก่าซึ่งใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)เป็นตัวคับไฟนั่นเอง
เคล็ดลับที่ 4
ให้นำเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ท่านจะสามารถนำติดรถไปด้วยได้
เพื่อเพียงพอต่อการใช้งานกรณีที่เกิดเหตุขึ้นมา
เคล็ดลับที่ 5
เพลิงไหม้ที่บริเวณห้องเครื่องยนต์นั้น โดยปกติเกิดจากการแตกของท่อน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
น้ำมันรั่วไปโดนเครื่องที่กำลังร้อนอยู่ให้ตรวจสอบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ
หากพบว่ามีการแตกร้าวก็ให้ทำการเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย ข้อนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจาก
มีการพบว่า MTBE ซึ่งเป็นสารเคมีที่เพิ่มเข้าไป(Additive)ในน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
มีส่วนทำให้เกิดการผุกร่อนของท่อน้ำมันจนทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น

หากเกิดไฟไหม้ที่ห้องเครื่องยนต์ ให้ท่านดับเครื่องยนต์โดยทันทีเพื่อหยุดการทำงานของ
ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงและการไหลเวียนของน้ำมันเชื้อเพลิง การดับไฟที่ห้องเครื่องให้ปลอดภัย
และได้ผลนั้นจะต้องใช้คนสองคนด้วยกัน โดยให้คนหนึ่งถืออุปกรณ์ดับเพลิงและเตรียมพร้อม
ในขณะที่อีกคนหนึ่งเปิดฝากระโปรงรถขึ้นมา ทันทีที่ฝากระโปรงเปิดขึ้นนั้นจะมีเปลวไฟลุกโชน
ขึ้นมาเนื่องจากมีอากาศบริสุทธิ์ด้านนอกเข้าไปสัมผัส ดังนั้นคนที่เตรียมพร้อมอยู่นั้นต้องฉีดเคมี
ดับเพลิงไปยังต้นกำเนิดของเพลิงโดยทันทีทันใดจนกระทั่งไฟดับ ที่สำคัญก็คือท่านต้องเปิดฝา
กระโปรงขึ้นมาโดยเร็ว ก่อนที่ไฟจะไหม้สายเคเบิลสำหรับเปิดฝากระโปรงเสียหายจนไม่สามารถ
ใช้การได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วก็จะไม่สามารถดับไฟที่ไหม้ได้เลย

ท่านไม่ต้องพยายามดับไฟโดยการพ่นสารเคมีดับเพลิงผ่านเข้าไปทางหม้อน้ำหรือซุ้มล้อ
เพราะมันจะไม่ได้ผลรวมทั้งเสียเวลาและสารเคมีดับเพลิงของท่านไปโดยเปล่าประโยชน์
การคับเพลิงชนิดนี้ให้ได้ผลต้องคับที่ต้นกำเนิดของเพลิงเท่านั้น
เคล็ดลับที่ 6
ถ้าท่านกำลังต่อสู้อยู่กับไฟที่กำลังไหม้รถนั้น ท่านจะต้องไม่เข้าไปอยู่ใน"เขตอันตราย
(zone of danger)"นั่นก็คือพื้นที่รูปกรวยเริ่มจากตำแหน่งของถังน้ำมัน
(โดยปกติจะถูกติดตั้งไว้ด้านท้ายของรถ)ไปยังด้านหลังของรถ เพราะถ้าหากถังน้ำมันเกิด
ระเบิดขึ้น มันจะส่งแรงระเบิดอันน่ากลัวซึ่งเป็นอันตรายถึงตายเลยทีเดียว ให้อยู่ออกมาจาก
ทางด้านหลังของรถเป็นระยะทาง 50 ถึง 100 ฟุต (15-30 เมตร)(เสริม-พื้นที่รูปกรวย
ให้ท่านนึกภาพเปลวไฟที่พุ่งออกมาจากปลายของจรวดขับดันยานอวกาศขณะส่งขึ้นจากฐาน)
เคล็ดลับที่ 7
ในแต่ละปี(ที่อเมริกา)จะมีรถประเภทอเนกประสงค์และกระบะบรรทุกจำนวนมากถูกไฟไหม้
เมื่อคนขับได้จอดรถทิ้งไว้ในบริเวณที่มีหญ้าสูงๆ เพื่อไปล่าสัตว์ ตกปลา หรือเดินเที่ยว
เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องกรองมลพิษจากไอเสีย (catalytic converter)
ที่ยังร้อนอยู่ไปทำให้หญ้าเกิดติดไฟขึ้นมาและลุกลามไปทั้งทุ่งหญ้าหรือกลายเป็นไฟป่า
ซึ่งมันจะเผาผลาญทุกอย่างที่อยู่รอบๆบริเวณนั้น ดังนั้นเพื่อเห็นแก่รถของท่านและสิ่งแวดล้อม
อย่าจอดรถใกล้กับสิ่งใดๆก็แล้วแต่ที่เครื่องกรองมลพิษจากไอเสีย
(catalytic converter) หรือ ท่อไอเสียของรถจะสามารถทำให้เกิดการลุกไหม้ได้
เคล็ดลับที่ 8
ถ้าหากท่านใช้ "motorhome" หรือลาก "camper-trailer"
(รถที่ออกแบบให้มีบริเวณคล้ายห้องนอนด้านหลังคนขับ คนอเมริกันใช้เป็นบ้านหรือที่พักค้างแรม)
ก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นสองเท่า เพราะรถประเภทนี้มีการติดตั้งถังแก๊สหุงต้ม
เพื่อใช้ในการประกอบอาหารด้วย ซึ่งจะเป็นแหล่งเชื้อเพลิงอีกอย่างหนึ่งของการเกิดไฟไหม้หรือ
การระเบิด รถประเถทนี้มีแนวโน้มการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากไฟฟ้าลัดวงจรด้วย เนื่องจาก
ความซับซ้อนของระบบสายไฟในรถ
ดังนั้น ต้องแน่ใจว่ารถของท่านได้ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันหรือแก๊สรั่วไว้แล้วด้วย.
เคล็ดลับที่ 9
บางครั้งท่านเองก็สามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้รถได้หรือเกิดการบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิตของตัว
ท่านเอง หากท่านทำการเติมน้ำมันจากภาชนะบรรจุซึ่งเกิดมีไฟฟ้าสถิตย์อยู่ ประกายไฟจะ
กระโดดจากภาชนะบรรจุน้ำมันไปยังตัวถังของรถและไปจุดระเบิดไอระเหยของน้ำมันขึ้นได้
ดูเหมือนว่าไฟฟ้าสถิตย์จะเกิดขึ้นกับภาชนะบรรจุที่บรรทุกไว้ในรถกระบะที่มีการติดตั้งพื้นปูกระบะ
พลาสติก หรืออันที่บรรทุกไว้บนหลังคาของรถ เนื่องจากการขับรถด้วยความเร็วบนทางหลวงนั้น
จะทำให้อากาศเกิดการเสียดสีกับผิวของภาชนะบรรจุจนมีการเก็บประจุเกิดขึ้น

ก่อนที่จะเทน้ำมันออกมานั้นท่านต้องมั่นใจว่าได้ล้างไฟฟ้าสถิตย์ด้วยการลงกราวด์ภาชนะบรรจุก่อน
แล้วทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าวข้างต้น และจำไว้ด้วยว่าภาชนะบรรจุน้ำมันที่ใกล้หมด
สามารถเป็นอันตรายได้มากกว่าอันที่ยังเต็มอยู่ เพราะไอระเหยของน้ำมันด้านในจะเกิดการระเบิด
ได้ง่ายกว่าที่น้ำมันที่ยังมีสภาพเป็นของเหลว.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้